วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1.
ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2.
ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ                                   
3.
เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4.
มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ

 
ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ                         
ชื่อ : นฤทธิ์ คำธิศรี
 
วัน/เดือน/ปีเกิด: 1 มกราคม 2506
 
ที่อยู่: 85 .9 .โพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
คู่สมรส : นางตุ้มคำ พยาบาลวิชาชีพ 7 หัวหน้าสถานีอนามัยโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ มีบุตร 2 คน
การศึกษา: ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจากวิทยาลัยเกษตรสุรินทร์ และปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาประมง
ประวัติการทำงานและผลงานที่น่ายกย่อง
นายนฤทธิ์ เป็นประชากรเขตตำบลโพธิไพศาลเป็นชนเผ่า ไทโส้ ซึ่งมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองเมื่อเรียนจบทำงานกับบริษัทเอกชนด้านการเกษตรและเก็บออมเงินทุนไว้ประกอบอาชีพของตนเองในที่สุดได้ลาออกจากบริษัทและกลับมาใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรเต็มตัวที่แผ่นดินเกิดบนดินลูกรังพื้นที 31 ไร่ ซึ่งได้มาจากหยาดเหงื่อแรงงานของตนเองและคู่ชีวิต
 นายนฤทธิ์ได้พยายามนำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดเพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อที่บอกกันตลอดมาว่า ดินลูกรังปลูกอะไรก็ไม่ได้ต้นไม้ไม่โตจากสภาพพื้นดินที่เป็นดินลูกรังซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำขาดน้ำในฤดูแล้งการทำการเกษตรจึงต้องมีข้อมูลและมีความอดทนมากพอสมควรในปี2532
     นายนฤทธิ์ได้เริ่มต้นศึกษาการปลูกพืชตามหลักวิชาการอย่างจริงจังโดยศึกษาปริมาณน้ำฝน พันธุ์พืช หลักการปรับปรุงบำรุงดินศึกษา การทำการเกษตรแบบธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นศึกษาดูงานสวนเกษตรที่ประสบความสำเร็จทั่วประเทศ  ในปี 2535 ได้เริ่มทดลองปลูกพืช ชนิดละ 2-3 ต้นเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและปัญหาของพืชชนิดนั้นๆขณะเดียวกันได้ปลูกพืชเป็นแนวกันลมคือปลูกไม้สักรอบพื้นที่จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลมาตลอด 5 ปี จนมีความมั่นใจปี 2537 จึงเริ่มลงมือปลูกพืช โดยใช้หลักวิชาการผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นแบ่งพื้นที่การเกษตร เป็นพื้นที่ปลูกพืชและปศุสัตว์ 20 ไร่, บ่อเลี้ยงปลา 9 ไร่, ป่าอนุรักษ์ 4 ไร่ประเภทของพืชที่ปลูก แบ่งเป็น
1. ผักอายุสั้น: พริก แตงไทย ฟักทอง บวบ
2. พืชอายุสั้น: กล้วย มะละกอ ฝรั่ง            
3. ผลไม้: กระท้อน ขนุน มะม่วง มะขาม มะพร้าวน้ำหอม ลำไย มะกอกน้ำ
4. ไม้เศรษฐกิจ: สัก พยุง ชิงชัน ประดู่แดง มะค่าโมง
5. พืชทดลอง: ผักหวานป่า
6. ป่าอนุรักษ์
สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ วัวขุน วัวฝูง เป็ด ไก่ แพะ แกะ บ่อเลี้ยงปลา จำนวน 3 บ่อ
    นายนฤทธิ์ เป็นเกษตรกรที่สามารถจัดการกับปัญหาด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม คือ
      ด้านเศรษฐกิจ จัดการให้ได้ผลตอบแทนจากผลิตผลทุกฤดูกาลหมุนเวียน
อย่างเพียงพอตลอดปีปัจจุบันนายนฤทธิ์ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท
         ด้านสังคม แก้ไขการลักขโมยด้วยการพยายามพบปะผู้คนในชุมชนทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน
เป็นผู้นำด้านต่างๆหลายด้านแบ่งปันผลผลิตให้กับวัด โรงเรียนศูนย์เด็กช่วยเหลือคนจนและผู้ติดเลิกยาเสพติดโดยการรับเข้าทำงานในฟาร์มจนในที่สุดปัญหาการลักขโมยได้หมดลง
       ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเกษตรกรที่ตะหนักถึงปัญหาระบบนิเวศน์และเข้าใจดีว่าป่าและธรรมชาติจะต้องถูกทำลายมากขึ้นในอนาคตได้แบ่งพื้นที่เป็นป่าอนุรักษ์เพื่อให้สัตว์และแมลงได้อาศัยพร้อมทั้งปลูกป่าเพิ่มเติมนับว่า นายนฤทธิ์ เป็นผู้มีความอดทน ขยันและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคหมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพของตนขณะเดียวกันก็เอื้อเฟื้อต่อส่วนรวมและเป็นแบบอย่างให้เยาวชนเกษตรกรทั่วไปมาเรียนรู้แนวคิดปฏิบัติ จนได้รับคัดเลือก เป็น
      -เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสมในปี ๒๕๔๘ จากสนง.เกษตรจังหวัดสกลนคร
     -คนดีศรีเมืองสกลประจำปี๒๕๔๗ จากจังหวัดสกลนคร
     -คนดีเมืองสกล เชิงประจักษ์ ประจำปี ๒๕๔๘ จากชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกล
จึงนับได้ว่า คุณนฤทธ์ คำธิศรี คือแบบอย่างความ "พอเพียง" อย่างแท้จริง
เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
    ถึงเขาจะเป็นลูกชาวไทโส้ ในเขตอำเภอที่ยากจนเขาก็มีแนวคิดที่ดีรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ได้ คือ ทำเกษตรจะไม่จน หากรู้จักวางแผน และการเกิดเป็นคนจะต้องมีความขยัน อดกลั้น อดทน เพื่อที่จะรอผลผลิต มีความซื่อสัตย์ และจงตระหนักไว้เลยว่างานหนักไม่เคยฆ่าคน และเกิดเป็นคนต้องรู้จักคิด รู้วางแผน เพราะการคิดการวางแผนจะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตข้างหน้า
           เรียกได้ว่า นาย"นฤทธิ์ คำธิศรี" ประสบความสำเร็จในชีวิตแบบที่เขาต้องการ คือไม่ต้องรวยเงินทอง เพราะการมีเงินมากๆ ไม่ได้หมายว่าจะทำให้เรามีความสุข ความสุขแท้จริงของชีวิตก็ คือ ความมีอิสระในด้านความคิดและการกระทำ และทำงานอย่างมีความสุข โดยมี คติประจำใจว่า เพิ่มผลผลิตแบบคนไต้หวัน ขยันแบบคนเกาหลี สู้ไม่หนีแบบคนอิสราเอล หนักแน่นในใจแบบญี่ปุ่น ทดแทนแผ่นดินเหมือนคนไทย

ที่มา:
http://www.yclsakhon.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=yclsakhoncom&thispage=3&No=270837


วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7

การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ       การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง  เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ  รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
       การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพของห้องเรียน  รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
       ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1.  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.  การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน  เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.  ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม 
4.  การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
       ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน  เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
   บทบาทของการเป็นผู้นำของครูออกเป็น  3 ประเภท
1.  ครูที่มีเผด็จการ  ลักษณะของครูเช่นนี้  จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2.  ครูที่มีความปล่อยปะละเลย ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3.  ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย  ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหาต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น  และความต้องการของนักเรียน

กิจกรรมที่ 6

 

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธน์นานนท์สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา หน้า ๓๑๑๓๑๗
สรุปและแสดงความคิดเห็นมาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู

     ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ  การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
       สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้นคำว่ามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้างการพัฒนารวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพมีศักยภาพที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ

มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด
        วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย

มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพในการประกอบ
วิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา :สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น
 ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
                มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
                มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
                - ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
                - ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
                - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                - พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
                - พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
                - รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
                - แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ 
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้อง  ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                - จรรยาบรรณต่อตนเอง
                - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อสังคม 
   
พื้นฐานและแนวคิด
โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ คือ
              - เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
              - เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
              - เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
          มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
                - สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
                - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                - สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน
                 ความคิดเห็น
ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งไม่ว่าจะเป็นครูสอนหนังสือหรือจะเป็นครูสอนวิชาความรู้หรือศาสตร์ในแขนงอื่นก็มีความรู้ที่สามารถถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ให้สามารถนำไปประกอบอาชีพที่สุดจริตดังนั้นเราทุกคนควรที่จะให้ความเคารพนับถือบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
              การนำไปประยุกต์ใช้
               การใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆกันขึ้นกับแต่ละสถาบันองค์กรสมาคมหรือสภาวิชาชีพต่างๆการประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพความต่างของขอบเขตการ
ใช้มาตรฐานด้วย
               เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูโดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภา
             

กิจกรรมที่ 5

กิจกรรมที่ 5

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
  สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ
      
สิ่งที่ได้รับ  คือ  แนวคิดของการเป็นครูที่ดีที่จะสามารถนำไปพัฒนานักเรียน  สังคมและประเทศชาติได้ต่อไป  ในบทความนี้จะสามารถทำให้ทราบถึงต้นแบบที่ดีที่จะอยู่ในฐานะเป็นแม่แบบและในฐานะเป็นแรงบันดาลใจ  ซึ่งคนที่ได้พบได้เห็นและได้ฟังจะสามารถรับรู้ได้ว่านี้คือแม่แบบที่ดีของตนเอง   
      
จากบทความเราสามารถทราบได้ถึงปัญหาสังคมได้ว่าเยาวชนในปัจจุบันที่พฤติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี จะมีผลมาจากต้นแบบที่อยู่ใกล้ตัวเองมาที่สุดซึ่งมาจาก  พ่อแม่ ครูหรือผู้ที่มีอิทธิพลกับเด็กซึ่งทำให้เด็กอาจจะเกิดความสับสนว่าสิ่งใดดี  สิ่งใดไม่ดี จนเกิดเป็นปัญหาสังคมขึ้นมาได้  จนทำให้บทความนี้มีนัยบอกว่า  คนที่จะสามารถเป็นต้นแบบที่ดีและมีวิญญาณที่จะเป็นต้นแบบได้ดีที่สุด คือ  ครู ที่จะอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย และปรารถนาดีต่อลูกศิษย์ทุกคน  และเป็นต้นแบบที่ดีของนักเรียนเสมอมา
      ประโยชน์ที่จะนำไปพัฒนาตนเองจากบทความ
       1.  
ทำให้ทราบถึงว่าความเป็นครูจะต้องมีความอดทนต่อความเหน็ดเหนื่อย และปรารถนาดีต่อลูกศิาย์เสมอ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตของความเป็นครูต่อไปได้
       2. 
ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของครู
       3. 
ทำให้ตัวเองมีแนวคิดในการที่จะปฏิบัติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีในหน้าที่ของแม่

กิจกรรมที่ 4

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
สรุปเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุกยืด
ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
   การเปลี่ยนแปลงมีหลักการคือหลักทางด้านการจัดการ คือการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ ซึ่งการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะต้องเริ่มต้นด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดและจูงใจก่อนเป็นอันดับแรก เพราะนั่นคือการกำหนดทิศทาง เป็นการวางเป้าหมายสำหรับอนาคต  อีกแง่มุมหนึ่งนั้นคิดว่าอยู่ที่ตัวของบุคคลด้วยเช่นกันการที่จะบุคคลจะก้าวมาเป็นผู้นำจะต้องสร้าง ความศรัทธาให้คนยอมรับนับถือด้วยคือการเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับมีความจริงใจกับทุกคน เท่ากับเป็นการซื้อใจคนอื่นไปด้วย
สิ่งที่ได้รับ       การได้มาซึ่งฐานะความเป็นผู้นำนั้นหากเป็นองค์กร จะ ต้องเริมจากการเปลี่ยนแปลงของจุดมุ่งหมายเราต้องมีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบที่แน่นอนแต่การที่จะ มาเป็นผู้นำของหรือคนอื่นนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนตนเองเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับเป็นคนที่ดูมีความน่าเชื่อถือคนก็จะมีความศรัทธา
สามารถนำไปใช้ประโยชน์    ฐานะการเป็นผู้นำคงไม่ใช่เรื่องยากที่ใครจะเป็นกัน ผมเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถที่จะเป็นผู้นำได้เพียงทำตนให้เป็นประโยชน์ มีน้ำใจ ฝึกการเป็นผู้ให้   แล้วจะมีคนมายกย่อง  และศรัทธาในตัวเราเองเมื่อถึงเวลา