วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อสอบครั้งที่สอง

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
 1. Classroom Management การจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งภายในชั้นเรียน และภายนอกชั้นเรียน การจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ  
 2. Happiness Classroom   การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Educationการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4.formal Education  การศึกษาในระบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน
5. Non-formal education การศึกษานอกระบบหมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป
6. E-learning    การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7. Graded การเรียนระดับชั้น       
8. Policy education นโยบายการศึกษา
9. Vision วิสัยทัศน์ คือ ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด
10. Mission พันธ์กิจ มีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธาน พันธะกิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals เป้าหมาย (GOAL) คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการตามเป้าหมาย
12. Objective หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
13. Backward design การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
14.effectiveness คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้อง
15. efficiency คือการทำงานอย่างมีประสิทธิผล
16.Economy เศรษฐกิจ (Economy) คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภค
17. Equity ความเสมอภาพ
18. Empowerment   การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement   การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20 project    แผนงาน เช่นโครงการ, โครงการวิจัย
21.Actives การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา
22.Leadership ความสามารถในการเป็นผู้นำ
23. Leaders ผู้นำ
24. Follows  ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations สถานการณ์
26. Self awareness การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) หมายถึง การรู้ว่าตนเองมีภาวะภายในอย่างไร มีความ ชอบไม่ชอบในเรื่องอะไรบ้าง มีความสามารถทางด้านใดบ้าง และมีญาณหยั่งรู้
27. Communication   การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาโดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
28. Assertiveness การยืนยันในความคิดตน
29. Time management การบริหารเวลา
30.  POSDCORB หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่และบทบาททางการบริหารอยู่ 7 ประการ คือ การวางแผน   การจัดองค์การ การบรรจุ การสั่งการ การประสานงาน การรายงานและการงบประมาณ
31. Formal Leaders  ผู้บังคับบันชาในหน่วยงานต่างๆ
32. Informal Leaders ผู้นำที่ไม่ใช้ผู้บังคับบันชาเช่นผู้นำของชลเผ่า
33. Environment  สภาพแวดล้อม
34. Globalization   โลกาภิสวัตถ์ การแพร่หลายไปทั่วโลก
33. Competency ความสามารถเชิงสมรรถนะหมายถึงความรู้   ทักษะ   และความสามารถของมนุษย์ที่แสดงผ่านพฤติกรรม
34. Organization Cultural   ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)  วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน บุคลิกภาพ” (Personality) หรือ จิตวิญญาณ” (Spirit) ขององค์การ
35. Individual Behaviorพฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล การรับรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การจูงใจ
36. Group Behavior พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior) นอกจากจะศึกษาระดับกลุ่มบุคคลแล้ว อีกระดับหนึ่งที่จำเป็นต้องศึกษา คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล
37. Organization Behavior พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior) รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working การทำงานเป็นกลุ่ม คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกันและมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกัน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
39. Six Thinking Hats หรือการคิดแบบหมวก 6 ใบนั้นคือกระบวนการหาความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดใหม่ๆ ที่น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้
           1.สีขาว(Information) หมวกใบนี้จะหมายถึง ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งๆนั้น
            2.สีแดง(Feelings) หมวกใบนี้จะหมายถึง อารมณ์ ความรู้สึกที่เรามีต่อสิ่งๆนั้น
3.สีเขียว(Creativity) หมวกใบนี้จะหมายถึง ความคิดสร้างสรรค์
4.สีเหลือง(Benefits) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองโลกในแง่ดี
5.สีดำ (Judgment) หมวกใบนี้จะหมายถึง การมองตรงกันข้าม
6.สีน้ำเงิน(Thinking about thinking) หมวกใบนี้จะหมายถึง การจัดการความคิดทั้งหมด
 40. Classroom Action Research    การวิจัยในชั้นเรียน

ข้อสอบ

คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
      1. Classroom management นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
ตอบ Classroom management (การจัดการชั้นเรียน) หมายถึงการจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งภายในชั้นเรียน และภายนอกชั้นเรียนการจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ  
Classroom management มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา คือเพราะการศึกษาเป็นการพัฒนาเยาวชน ดังนั้นการศึกษาที่ดีก็ต้องสอดคล้องกับความต้องการของเยาวชนแต่ละคนแต่ละพื้นที่ ที่มีความต้องการและความสามารถไม่เหมือนกัน ดังนั้น Classroom management (การจัดการชั้นเรียน) มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการศึกษาและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาที่จะต้องจัดการชั้นเรียนให้เข้ากับผู้เรียน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดการชั้นเรียนให้ทันต่อโลกปัจจุบัน


2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
    ตอบมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  หมายถึง  ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะ เข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ ประกอบด้วยมาตรฐาน 2 ส่วนได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูมีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือ เทียบเท่าหรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรองโดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
     1.  ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
    2.  การพัฒนาหลักสูตร
    3.  การจัดการเรียนรู้
    4.  จิตวิทยาสำหรับครู
    5.  การวัดและประเมินผลการศึกษา
    6.  การบริหารจัดการในห้องเรียน  
    7.  การวิจัยทางการศึกษา
    8.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
    9. ความเป็นครู
             มาตรฐานประสบการณ์ของครู
        ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลา
ไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
    1.  การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
    2.  การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
ตัวอย่างเช่น  เราควรที่จะพัฒนาตนเองให้แสดงออกทางร่างกาย กริยา วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัวอย่างเช่น
             1)     รักษาสุขภาพและปรับปรุงบุคลิกภาพอยู่เสมอ
             2)    มีความเชื่อมั่นในตนเอง
             3)     แต่งกายสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะและทันสมัย
             4)    มีความกระตือรือร้น ไวต่อความรู้สึกของสังคมฯลฯ
3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
       ตอบ     1. การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ หมายถึง การจัดบริเวณสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนซึ่งได้แก่ อาคารเรียน ห้องเรียน บรรยากาศโดยรอบสะอาดสวยงาม มีระเบียบ ปลอดภัยและมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสภาพที่มี อิทธิพลต่อผู้เรียน ทำให้นักเรียนสบายใจ มีความสุขส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
             2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่น่าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
            3.ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพ แวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และ การเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้  การจัดการชั้นเรียนที่ดีก็เป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่มบรรยายกาศในการเรียนรู้ของเด็กและมีความเอื้ออำนวยในการเรียนรู้ของเด็กเพราะบรรยากาศที่ดีจะทำให้เด็กมีสมาธิกับการเรียนมากขึ้น
4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
       ตอบการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน
 โรงเรียนซึ่งมีบรรยากาศที่ดี จะทำให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเกิดความรู้สึกพอใจภูมิใจ อบอุ่นใจ สบายใจ รู้สึกในความเป็นเจ้าของ และอยากมาโรงเรียนบริเวณโรงเรียน อาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องประกอบ ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ สิ่งชี้วัดถึงลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี การเสริมสร้างความรู้สึกที่ดี ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะนักเรียนซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา  ดังนั้นครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นตัดสินใจร่วมวางแผน จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนภายใต้การแนะนำของผู้บริหารและครูอาจารย์
บริเวณภายในห้องและสภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย
             ส่วนในด้านความปลอดภัยคือจัดให้มีผู้รับผิดชอบในด้านอาคารและสถานที่เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารและสถานที่ภายในห้องควรมีแสงสว่างไสวเพียงพอ ไม่จ้าจนเกินไปเพราะจะทำให้มีผลต่อสายตาเด็กอาจใช้ผ้าม่านเพื่อช่วยกรองแสงให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ ไม่ควรเป็นห้องที่มืดจนเกินไป หากห้องมีลักษณะมืด ควรเปิดไฟ
5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
       ตอบ   เรื่องคุณภาพของผู้เรียนเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี การบริหารจัดการที่ดี และการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีประสิทธิภาพของโรงเรียน ซึ่งมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา  พัฒนาการด้านสมรรถภาพทางกาย  ตลอดจนการแสดงออกทางหน้าตาท่าทางถึงความสุขในการเรียนของผู้เรียน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในบางด้านที่มีความเป็นชีวิตกว่าโรงเรียนทั่ว ๆ ไป เช่น
1.      ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
2.       ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น ถ้าเป็นคุณลักษณะในเรื่องการตรงต่อเวลาคำตอบอาจจะออกมา เช่น
            - มาโรงเรียนทันเวลา
            - เข้าห้องเรียนทันเวลาตามตารางเรียน
            - ทำแบบฝึกหัดหรือส่งงานครูตามกำหนดเวลา
            - ส่งหนังสือที่ยืมจากห้องสมุดตามกำหนดเวลา
            - เข้าสอบทันเวลาตามตารางสอบ
            - เข้าร่วมกิจกรรมตามที่เพื่อนหรือครูนัดไว้
          6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบปัจจุบันการศึกษาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดของมนุษย์  เพราะการศึกษามีบทบาทต่อการพัฒนา  ความมั่นคง  ความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นอันมาก  การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์และการสร้างพลังในการพัฒนาประเทศ  ดังนั้นการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกๆ  ด้าน   เช่น
โรงเรียนระดับประถมศึกษา เน้นเรื่องการประหยัดและอดออม ความมีระเบียบวินัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความซื่อสัตย์สุจริต การใฝ่รู้ใฝ่เรียน การเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรักษาประเพณี นิยมไทย ความเป็นไทยและมีมารยาทแบบไทย ความรับผิดชอบ รักความสะอาด มีสุขนิสัยที่ดี การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสนา เป็นต้น
ส่วนโรงเรียนมัธยมศึกษาเน้นเรื่อง ความมีระเบียบวินัยเป็นอันดับแรก ตามด้วยความรับผิดชอบ การมีสัมมาคารวะ ความซื่อสัตย์สุจริต การปฏิบัติตามหลักและคำสอนทางศาสนา เสียสละ และมีคุณธรรมจริยธรรมอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาของกลุ่มสาระวิชาต่างๆ เป็นตัวเสริมให้คุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมีลักษณะที่กว้างขึ้น


กิจกรรมที่14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind mapping สอนอย่างไร? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
วิธีการสอนโดยใช้Mind Map แผนที่ความคิด (Mind Map) พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอ หรือ ปากกา มาเป็นการบันทึกเป็น คำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจช่วยให้การเรียนการสอนง่ายและสนุกสนาน
     ข้อดีของการสอนแบบใช้ Mind Mapเป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ช่วยให้นักเรียนสนใจเรียนและไม่เล่นขณะที่อาจารย์สอนให้รู้ว่าการเรียนเป็นเรื่องสำคัญ นักเรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ทำความเข้าใจได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบ กับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
                การสอนแบบหมวก 6 ใบนั้นจะคลอบคลุมพฤติกรรมทุกด้าน ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้คือ
หมวกสีขาว สีขาวบริสุทธิ์เป็นตัวแทนของข้อเท็จจริง ข้อมูล ตัวเลข เป็นสิ่งที่ทุกๆคนยอมรับไม่มีการโต้แย้ง
หมวกสีแดง   สีแดงแทนอารมณ์ ความรู้สึกและการหยั่งรู้ ดังนั้น เมื่อมีการสวมหมวกสีแดง คือ ความต้องการให้สมาชิกพูดแสดงความรู้สึกของตนต่อเรื่องราวต่างๆ เช่น ชอบ -ไม่ชอบ  ดี-ไม่ดี ความกลัว ความชื่นชม ความสงสัย เป็นต้น
หมวกสีดำ สีดำแทนความคิดทางลบ ในทางที่ไม่ดี ไม่ได้ผล จุดด้อย ข้อผิดพลาด
หมวกสีเหลือง แทนสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่สร้างสรรค์ สนับสนุน ให้กำลังใจ เพราะสีเหลืองเป็นสีแห่งดวงอาทิตย์ที่มีความสว่างไสว
หมวกสีเขียว เป็นสีของผัก กิ่ง ก้านของต้นพืช ซึ่งแสดงถึงการเจริญเติบโต ความอุดมสมบูรณ์ คุณค่าของความคิด ดังนั้น การสวมหมวกสีเขียวจึงเป็นความต้องการให้แสดงความคิดใหม่ๆ ความคิดที่ได้นั้นมีความเป็นไปได้และต้องเป็นความคิดที่มีประโยชน์ด้วย
      หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงิน แทน สีท้องฟ้า เป็นสีแทนการควบคุมเป็นตัวแทนของการควบคุมความคิดทั้งหมด หรือมุมมองกว้างที่ครอบคลุม ซึ่งผู้บริหารที่ใช้หมวกนี้จะต้องอาศัยประสบการณ์มากในการตัดสิน
            ข้อดีวิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบ คือ ช่วยให้ผู้เรียนได้พยายามคิด ทั้งคิดให้รอบ คิดทั้งจุดดี จุดด้อย จุดที่น่าสนใจ ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นๆแทนที่จะยึดกับความคิดเพียงด้านเดียวหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

การสอนแบบโครงงาน
              การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนโดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
ความแตกต่างกันระหว่างหมวก6ใบกับโครงงาน หมวก 6 ใบ เป็นการพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดของผู้เรียน ส่วนโครงงานเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ จริง


วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13

คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
        
      1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
             ไม่เหมาะสม  เช่น พฤติกรรมการบริโภคเพราะการบริโภคของมนุษย์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตเนื่องจากในอดีตเป็นการบริโภคอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อความอยู่รอดหรือประทังชีวิตไปเป็นการบริโภคแบบตามความชอบของตัวเองตามกำลังทรัพย์หรือฐานะเพราะมีอาหารให้เลือกมากขึ้น ส่วนทางด้านสุขภาพ ก็มีความไม่เหมาะสมบ้าง เช่น  อาหาร  , หลีกเลี่ยงการออกแรง  ,  ขาดการออกกำลังกายความเครียด  ,การควบคุมอารมณ์ , สิ่งแวดล้อมในการทำงาน , สิ่งแวดล้อมที่บ้านและ
การพักผ่อน
 2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม)    มีน้อยมากเพราะผู้คนในสมัยนี้ให้เวลากับงานเป็นส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพน้อยมาก
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) มีน้อยค่ะ เพราะว่าเด็กไทยควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้แต่เราก็ควรบอกเขาว่าเขาควรพยายามปรับอารมณ์ไปในทางที่ดีรู้จักการยอมรับกับในสิ่งที่เกิดขึ้น
การพัฒนาบุคลิกภาพ เช่น
1.มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ดี
2. มีความสามารถในการทำงานที่อำนวยประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมได้
3. มีความรัก และความผูกพันต่อผู้อื่น
4. มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาทางการแสดงออกของตนต่อผู้อื่นได้ดีขึ้น

4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง (มีชื่อเสียง) ไม่เพราะในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงส่วนมากเด็กจะเยอะการดูแลเด็กให้ทั่วถึงมีน้อยมาก
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)    ทำความรู้จักกับนักเรียนเรื่อยๆจนรู้จักนักเรียนหมดทุกคน
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. การคัดกรองนักเรียน
3. การส่งเสริมนักเรียน
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
5. การส่งต่อ

 6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต (สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
       เด็กจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพตั้งแต่แรกเกิด การที่เด็กจะสามารถพัฒนาเด็กตามศักยภาพได้นั้น  เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม หมายความว่า เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ กาย ใจ จิต อารมณ์ สังคม สติปัญญาและจริยธรรมและเด็กยังมีสิทธิในการที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการถูกทำร้าย ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา (วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่ (หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”) มี เช่นการ
๑. การควบคุมตนเอง
๒. ความเห็นใจผู้อื่น
๓. ความรับผิดชอบ
๔. การมีแรงจูงใจ
๕. การตัดสินใจแก้ปัญหา
๖. สัมพันธภาพกับผู้อื่น
๗. ความภูมิใจในตนเอง
๘. ความพอใจในชีวิต
๙. ความสุขสงบทางใจ
 8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
มีมาก
  9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ            มีแบบประเมินเพื่อสำรวจพฤติกรรมของนักเรียนโดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบและส่งต่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน เพื่อครูจะได้สรุปนำสิ่งที่ผิดพลาดมาแก้ไขปรับปรุงอีกทีหนึ่ง

กิจกรรมที่12

        อาทิตย์ นี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะว่านักศึกษาบางส่วนได้ไปทัศนะศึกษานอกสถานที่และ นักศึกษาที่ไม่ได้ไปทัศนะศึกษาก็ได้ไปช่วยเหลืองานอาจารย์ที่ห้องหลักสูตร ช่วยอาจารย์จัดน้องที่เข้ามาสอบสัมภาษณ์ ช่วยเสิร์ฟน้ำ พิมพ์เอกสารและกวาดขยะ ต่อจากนั้นก็กลับบ้านไปหาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อเก็บข้อมูลมาทำเป็นรายงานส่งอาจารย์

ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ในตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา
ประวัติความเป็นมา
          ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในพื้นที่เป็นเมืองประวัติศาสตร์ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของกิ่งอำเภอกลายมาก่อน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครอง ทรงกระจายอำนาจไปสู่หัวเมือง แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล กลาย(ท่าศาลา) ตั้งที่วัดเตาหม้อ (วัดชลธาราในปัจจุบัน) และครั้งสุดท้ายย้ายไปตั้งในตลาดท่าศาลามาจนปัจจุบันนี้
       ตำบลกลายในอดีตเป็นตำบลที่กว้าง มีพื้นที่ติดชายทะเล ที่ราบลุ่มที่ราบเชิงเขาและภูเขาแต่ปัจจุบันได้แยกส่วนที่เป็นภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบบางส่วนออกไปตั้งเป็นตำบลตลิ่งชันเสียส่วนหนึ่ง
       ส่วนที่มาของชื่อตำบลกลาย กลายเป็นชื่อของการเปลี่ยนแปลง คือ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากปากน้ำกลายมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอยู่เสมอตามความรุนแรงของกระแสน้ำที่กัดเซาะตลิ่ง ทำให้ปากน้ำต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จึงให้ชื่อว่า กลาย
สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ 41,336 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 38,423 ไร่ ประกอบไปด้วยหมู่บ้านจำนวน 12 หมู่บ้าน จำแนกได้เป็น
                หมู่ที่ 1 บ้านพังปริง        จำนวนเนื้อที่ 3,497 ไร่
                หมู่ที่ 2 บ้านสวนพริก      จำนวนเนื้อที่ 3,302 ไร่
                หมู่ที่ 3 บ้านบางสาร       จำนวนเนื้อที่ 3,632 ไร่
                หมู่ที่ 4 บ้านตลาดอาทิตย์ จำนวนเนื้อที่ 2,949 ไร่
                หมู่ที่ 5 บ้านทอนตะเกียง จำนวนเนื้อที่ 3,132 ไร่
                หมู่ที่ 6 บ้านบ่อกรูด         จำนวนเนื้อที่ 3,248 ไร่
                หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งพันธ์        จำนวนเนื้อที่ 3,615 ไร่
                หมู่ที่ 8 บ้านนาเพรง        จำนวนเนื้อที่ 2,955 ไร่
                หมู่ที่ 9 บ้านดอนใคร       จำนวนเนื้อที่ 2,922 ไร่
                หมู่ที่ 10 บ้านหินออก       จำนวนเนื้อที่ 2,631 ไร่
                หมู่ที่ 11 บ้านในไร่          จำนวนเนื้อที่ 2,134 ไร่
                หมู่ที่ 12 บ้านทางสาย      จำนวนเนื้อที่ 2,722 ไร่

       อาณาเขตติดต่อ                   ทิศเหนือ จด ตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล
                  
ทิศใต้ จด ตำบลสระแก้ว
                  
ทิศตะวันออก จด อ่าวไทย
                   ทิศตะวันตก จด ตำบลตลิ่งชัน
       ภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบ มีลำน้ำกลายไหลผ่านลงสู่อ่าวไทยทางด้านทิศตะวันออก มีหาดทรายยาวติดต่อกันประมาณ 9 กิโลเมตร ในพื้นที่หมู่ 1, 11 และหมู่ที่ 3 เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ            
       ประชากร ตำบลกลาย มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 8,783 คน แยกเป็นชาย 4,433 คน หญิง 4,350 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 0.212 คน/ตารางกิโลเมตร
                หมู่ที่ 1 บ้านพังปริง        จำนวนประชากร 1,450 คน
                หมู่ที่ 2 บ้านสวนพริก      จำนวนประชากร    692 คน
                หมู่ที่ 3 บ้านบางสาร       จำนวนประชากร    767 คน
                หมู่ที่ 4 บ้านตลาดอาทิตย์  จำนวนประชากร   744 คน
                หมู่ที่ 5 บ้านทอนตะเกียง  จำนวนประชากร    585 คน
                หมู่ที่ 6 บ้านบ่อกรูด         จำนวนประชากร    725 คน
                หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งพันธ์        จำนวนประชากร    660 คน
                หมู่ที่ 8 บ้านนาเพรง        จำนวนประชากร    461 คน
                หมู่ที่ 9 บ้านดอนใคร       จำนวนประชากร    650 คน
                หมู่ที่ 10 บ้านหินออก       จำนวนประชากร    693 คน
                หมู่ที่ 11 บ้านในไร่          จำนวนประชากร    779 คน
                หมู่ที่ 12 บ้านทางสาย      จำนวนประชากร    577 คน
       อาชีพ                - การเกษตรกรรม พื้นที่เกษตรกรรมทั้งสิ้น 35,289 ไร่ ราษฎรประมาณ 70% ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม โดยเรียงลำดับดังนี้ การทำนา ทำสวนมะพร้าว ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ และปลูกพืชผัก ตามลำดับ แต่การทำนาเป็นการทำไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และทำรายได้ให้แก่ราษฎร คือ ทุเรียน มังคุด มะพร้าว มะนาว ฯลฯ
               -
การปศุสัตว์ ราษฎรส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมเกือบทุกครัวเรือน โดยเลี้ยงไว้สำหรับบริโภคและจำหน่าย เช่น โคพันธุ์พื้นเมือง สุกร ไก่พันธุ์เนื้อและพันธุ์พื้นเมือง
               -
การประมง ราษฎรที่อยู่ติดกับชายฝั่งจะทำการประกอบอาชีพการประมงและมีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำและปลาน้ำจืด ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับราษฎรเป็นอย่างดี
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
             - ปั๊มน้ำมัน 3แห่ง
             - โรงสีข้าว 7 แห่ง
  
การศึกษา
                      การศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย จำแนกได้ดังนี้
                      -  ระดับประถมศึกษา 5 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านพังปริง โรงเรียนบ้านปากดวด โรงเรียนวัดเขาพนมไตรรัตน์ โรงเรียนบ้านบ่อกรูด และโรงเรียนวัดดอนใคร
                      -  ระดับมัธยมศึกษา (ตอนต้น) 2 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านพังปริง และโรงเรียนวัดดอนใคร
                      -  ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 12 แห่ง
                      -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบล 1 แห่ง
   สถาบันและองค์กรทางศาสนา                      วัด/สำนักสงฆ์ 4 แห่ง
                      -  วัดบางสาร (ตั้งอยู่หมู่ที่ 3)
                      -  วัดเขาพนมไตรรัตน์ (ตั้งอยู่หมู่ที่ 4)
                      -  วัดบ่อกรูด (ตั้งอยู่หมู่ที่ 6)
                      -  วัดดอนใคร (ตั้งอยู่หมู่ที่ 9)
                      มัสยิด 5 แห่ง
                      -  มัสยิดบัยริยะห์ (ตั้งอยู่หมู่ที่ 1)
                     - มัสยิดบ้านปากดวด (ตั้งอยู่หมู่ที่ 1)
                     - มัสยิดตอรีกอตุลยัญนะฮ์ (ตั้งอยู่หมู่ที่ 11)
                     - มัสยิดซูรูกุลฮูดา (ตั้งอยู่หมู่ที่ 11)
                     - มัสยิดดารุลนาอีม (ตั้งอยู่หมู่ที่ 11)
การสาธารณสุข
                      -  สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 2 แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 4, 9)
                      - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน/สมุนไพร 2 แห่ง
                      - สถานพยาบาลเอกชน 1แห่ง
                      -  อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ 100%
 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                      - ป้อมตำรวจ (สายตรวจประจำตำบล) 1 แห่ง
การคมนาคม
             มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 (ถนนเอเชีย) ตัดผ่าน
             - ถนนราดยาง 6 สาย
             - ถนนคอนกรีต 27 สาย
             - ถนนดิน/ลูกรัง/หินคลุก/หินผุ(แร่โดโลไมล์) 41 สาย
การโทรคมนาคม
             เขตองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย มีโทรศัพท์สาธารณะจำนวน 13 ตู้
การไฟฟ้า             มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน (12 หมู่บ้าน ) ราษฎรมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนจำนวน 8,783 คน
   แหล่งน้ำธรรมชาติ              ลำน้ำ/ลำห้วย 12 สาย
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
             - ฝาย 12 แห่ง
             - บ่อน้ำตื้น มีเกือบทุกครัวเรือน
             - บ่อโยก 12 แห่ง
             - ประปาหมู่บ้าน 6 แห่ง
    การบริการและการท่องเที่ยว
             - หาดทราย 3 แห่ง (หาดปากดวด,หาดชมเล,หาดปากน้ำกลาย)


ต้นเตยทะเล

คลื่นซัดตอนเย็นๆๆ

สวนมะพร้าว