วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

                             การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
        การวิเคราะห์หลักสูตร  เป็นการพิจารณารายละเอียดของจุดมุ่งหมายและเนื้อหา เราจะต้องศึกษาหลักสูตรแกนกลางว่าในหลักสูตรต้องการอะไร จุดมุ่งหมายคืออะไรแล้วเอามาปรับใช้ในการเขียนแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสาระการเรียน เนื้อหา และกับตัวผู้เรียน
         การวิเคราะห์ผู้เรียน  เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน จะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไป และลักษณะเฉพาะของผู้เรียนเพราะผู้เรียนนั้นแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะต่างกันออกไปว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนแค่ไหน
          การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย   มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายการจัดกิจกรรมต่างๆที่เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนจะต้องสอดคล้องกับตัวผู้เรียน ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย ช่วงชั้น เน้นผู้เรียน เกิดประโยชน์ที่สุดสำหรับตัวผู้เรียน กิจกรรมต้องช่วยต่อยอด ให้เกิดการเรียนรู้ การคิดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้
           การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ของเด็กให้เกิดการคิด การวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์ของสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวผู้เรียน เพราะสื่อจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อีกทางหนึ่งซึ่งผู้เรียนก็จะเกิดการเรียนรู้ที่ไม่ใช่เฉพาะในหนังสือ สื่อจะทำให้เด็กมองโลกได้กว้างขึ้นแต่ก็ต้องอยู่ในขอบเขตที่จำกัดเช่นกัน
            การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียนในทุกด้าน
              การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ  เมื่อได้ผลการประเมินมาแล้วเราก็นำเอาผลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไขให้ สอดคล้องกับผู้เรียน
               การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตนจะจัดทำวิจัยหลังจากการที่ได้สังเกตหรือทดสอบ แล้วนำผลที่ได้ไปวิจัยดูว่าจะจัดทำ
นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เหมาะกับการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไปอย่างไร
                        การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(พร้อมยกตัวอย่างการออกแบบการจัดการเรียนรู้ )
                                   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนแบบบูรณาการ วิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เรื่อง สิ่งแวดล้อมที่รัก
                                   การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหากลุ่มสาระต่างๆที่เชื่อมโยงกันสัมพันธ์กันไปในเวลาเดียวกัน ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆตามกิจกรรมที่ผู้สอนจัดเตรียม ให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสาระกลุ่มต่างๆที่ได้เรียน ตลอดจนฝึกการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต
                                   ตัวอย่างแผนการสอนแบบบูรณา  เรื่อง สิ่งแวดล้อมที่รัก
สาระสำคัญ
                               สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ สิ่งที่มีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตมีทั้งให้ความสวยงามและให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ต้องช่วยกันดูแลรักษาไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
จุดประสงค์การเรียนรู้
                    1.เกิดความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
                    2.สามารถบอกประโยชน์ของสิ่งแวดล้อมได้
                    3.สามารถสรุปได้ว่าการกระทำของมนุษย์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอย่างไรและการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างไร
                    4.สร้างจิตสำนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดกับเด็ก
เนื้อหาการเรียนรู้
                            - สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และสิ่งที่ไม่มีชีวิต คือ ดิน น้ำ หิน ทราย อากาศ ดวงดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
                            -  ประโยชน์ของสิ่งแวดล้อม
                            - การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
                            -การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
                            - การกระทำของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ทิ้งขยะ ควันรถ ตัดไม้ทำลายป่า
                            -ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ เช่น น้ำท่วม น้ำเน่า อากาศเสีย
กิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เรื่องสิ่งแวดล้อมที่รัก
                        ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นที่ 1      แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นสองกลุ่ม สำรวจสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน นำเสนอผลงานเป็นตาราง อภิปรายลักษณะการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต นำน้ำจากแหล่งน้ำ สังเกตความแตกต่าง หาสาเหตุ ดูภาพแม่น้ำลำคลอง กองขยะ สรุปอภิปราย ผลกระทบ
ขั้นที่ 2      อภิปรายร่วมกันถึงประเด็น ถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ชีวิตมนุษย์จะเป็นอย่างไร ให้ดาที่ภาพต้นไม้ที่ถูกตัด ใช้คำถามถึงผลกระทบ สร้างจิตสำนัก โดยมอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มดูแลรับผิดชอบแปลงไม้ดอก ไม้ประดับ
 ขั้นสุดท้าย   ทบทวน ประโยชน์ และอันตรายจากดวงอาทิตย์ ร่วมกันสรุป ดูภาพการเกิดข้างขึ้นข้างแรม วาดภาพประกอบ สอนวิธีดูทิศ ใช้คำถามเพื่อเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เดิมเข้ากับเนื้อหาที่เรียนรู้ จากแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งแวดล้อมที่รัก มีการจัดกิจกรรมหลากหลาย เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นขั้นเป็นตอน เป็นการบูรณาการเนื้อหาที่ชัดเจนจากกลุ่มสาระต่างๆ
สื่อการเรียนการสอน
-          ตารางสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน
-          ภาพการเปลี่ยนแปลงของดิน หิน และทราย
-          ภาพควันพิษจากโรงงาน ถนนที่มีรถยนต์จอแจ และการเกิดพายุ
-          ตารางบันทึกการสังเกตน้ำแบบสำรวจ
-          ภาพต้นไม้ ลำธาร คนตัดไม้
-          ภาชนะใส่น้ำ เช่น แก้ว ถุงพลาสติก
-          แปลงไม้ประดับบริเวณโรงเรียน
-          บัวรดน้ำหรือภาชนะรดน้ำต้นไม้ ส้อมพรวนดิน ปุ๋ยคอก
-          ถังขยะ
-          แผนภูมิเพลงอย่าทิ้งขยะ และเพลงป่าสวย
-          กระดาษวาดภาพ  กระดาษขาว เทา สี และกรรไกร
การประเมินผล
     1. สังเกตความกระตือรือร้นในการทำงาน การให้ความร่วมมือทำงานกลุ่มแสดงความคิดเห็น นำเสนอผลงาน และทำงานเสร็จทันเวลา
     2. สังเกตการณ์เล่าเรื่อง ร้องเพลง การออกเสียงภาษาอังกฤษ
     3. วัดผลการปฏิบัติงาน ได้แก่ การเขียนเรื่อง วาดภาพ การรับผิดชอบดูแลรักษาแปลงดอกไม้และการรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน
     4. ตรวจผลงานการทำแบบทดสอบ เรื่อง สิ่งแวดล้อมที่รัก


อ้างอิง จากเอกสารการจัดการเรียนรู้ ภาคเรียนที่2  ปีการศึกษา 2553

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
     เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10
                แสดงความคิดเห็น สรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เกี่ยวกับกรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษกรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย  , กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัย, กรณี คนไทย 7 คน 
                 1) คดีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษและชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เม จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน

          2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัวเพราะพื้นที่ดังกล่าวมีผลประโยชน์แฝงอยู่อาทิ เช่น   ทะเลในอ่าวไทยมีก๊าซธรรมชาติอยู่ถ้าฝ่ายใดได้ก็จะมีอภิสิทธิ์เต็มที่   เกาะกรูดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น

    3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
               นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. 2543 ว่า ต้องการให้คนที่มีความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ   ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
            สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง 2 ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ
           ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันหากนำมาในจะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาซึ่งทำให้ไทยเสียเปรียบกัมพูชาเพราะ MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000
  4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
 ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่ติดกันและมีข้อพิพาทกันอยู่ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้โดยเร็วที่สุดโดยใช้ความเด็ดขาดไม่ยินยอมและอ่อนแอ อย่างนี้ทำให้กัมพูชาได้ใจและหาเรื่องอยู่คลอดอยู่ที่การตัดสินใจของรัฐบาลซึ้งมีความสำคัญมาก และขอร้องให้นายกและรัฐบาลชุดนี้จัดการปัญหาให้เสร็จไปคนไทยจะได้ไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป

กิจกรรมที่9

สรุปประเด็นสำคัญ  (โทรทัศน์สำหรับครู)
เรื่องสอนซ้ำ ย้ำทวน เรื่องสระอาซ้อ. จารุพรรณ ประดับหยิ่ว
สอนซ้ำ       อ. จารุพรรณ ประดับหยิ่ว โรงเรียน พระยาประเสริฐสุนทราศรัย สร้างแผนภูมิการแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ โดยให้เด็กคิดเป็นภาพก่อน จากการที่ครูเล่านิทานให้ฟัง เน้นการซ้ำ การย้ำ เพื่อให้เด็กๆได้จดจำ และคุ้นเคยกับคำที่ต้องการให้สอน ด้วยกิจกรรมมากมายการดูภาพจากบัตรคำ, อ่านตามแผนภูมิการอ่าน, ย้ำให้จดจำด้วยบทบาทสมมติ, ใช้แผนที่ความคิดเพื่อเด็กคิดคำใหม่ๆ และต่อยอดความรู้เรื่องคำ
              รูปแบบการสอนแบบใช้การเน้นซ้ำ ย้ำทวน ผ่านกิจกรรมต่างๆมากมาย ครูเชื่อว่าการเรียนรู้การทำแบบซ้ำๆนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและสามารถจดจำบทเรียนนี้ได้อย่างยาวนาน เริ่มต้นในการสอนของครู ครูจะผูกโยงเรื่องราวของครูกับการนำเรื่องสระอาคือการเอาสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโดยครูจะสอนเกี่ยวกับบทบาทสมมติตามแผนภูมิการอ่านและย้ำให้จดจำด้วยบทบาทสมมติ สิ่งที่เด็กได้รับจากกิจกรรมนี้ ก็คือ เด็กจะได้คำเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสระอา ต่อไปครูจะนำแผนที่ความคิดเข้ามาสอนในสระอาในการสอนแผนที่ความคิดเด็กจะมีความรู้ที่หลากหลายเพิ่มขึ้นมีการร่วมกันคิดและกล้าแสดงออกเพิ่มขึ้น
              สิ่งที่นักเรียนได้รับเกี่ยวกับเรื่องสระอา ก็คือ ได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องหลักภาษา เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ภาษา เกี่ยวกับการอ่านคำ อ่านประโยค ซึ่งการเรียนรู้ต่างๆผ่านกิจกรรมต่างๆมากมายเด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานและที่สำคัญก็คือ คุณครูควรจะสอนแบบสอนซ้ำ ย้ำทวน เพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานการอ่านและการเขียนที่ดี เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนในระดับชั้นที่สูงต่อไป
                 อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีคือ   ความมีระเบียบวินัย , ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม  ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ  ,ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ, ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล ,  ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์   , ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ,   ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น  , ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ  ,    ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน
 การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆดังนี้
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
2. มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
3. มีบุคลิกภาพที่ดี
4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
5. มีความอดทน
6. มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
7. มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความรู้
8. มีความจริงใจ
9. มีลักษณะเป็นผู้นำ

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 8

ความหมายของวัฒนธรรม
        วัฒนธรรมองค์กร  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ  กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์การนั้น  เกิดจากการเชื่อมโยง  ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล  ค่านิยม  ความเชื่อ  ปทัสถาน  และการกระทำของบุคคล  ของกลุ่ม  ขององค์กร  นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การ  เทคโนโลยี  สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร  จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์การ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ (Organization Theory)
                 แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์การได้ถูกรวบรวม และคิดค้นอย่างมีรูปแบบ จนกลายเป็นทฤษฎีเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 20
                           ทฤษฎีเป็นเพียงนามธรรมที่อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และประสบการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ถ้าทำ และหรือ เป็นอย่างนั้น ผลจะออกมาแบบนี้ (If ……then) ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีก็เปรียบเสมือนการคาดคะเนถึงผลที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
                            จากระยะเวลาต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกแนวความคิดและทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ (ไชยา ยิ้มวิไล 2528 อ้างจาก Henry L. Tosi)
                1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)
            2. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory)
                        3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
แนวทางพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบกลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ

แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
กรณีศึกษาของประเทศไทย
สาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยผู้จัดการพยายามพัฒนาพนักงานให้มีความ สนใจลูกค้ามากขึ้น เพราะพบว่าพนักงานมักจะให้บริการแก่ลูกค้า "แบบขอไปที" หรือ "เสียไม่ได้" กล่าวคือ ไม่เคยมีรอยยิ้ม การทำงานก็จะทำไปตามหน้าที่ การให้บริการล่าช้า เป็นการทำงานตามใจตัวเอง ส่งผลให้ลูกค้าตำหนิการให้บริการอย่างมาก ผู้จัดการสาขาท่านนั้นได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ใน หัวข้อ วัฒนธรรมองค์การ และได้ฟังการบรรยายตัวอย่างของ UPS และตัวอย่างของบริษัท Honda (รายละเอียดอยู่ในหัวข้อถัดไป) ทำให้ตระหนักถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การในการควบคุมพฤติกรรมพนักงาน

                www.kmitnbxmie8.com/index.php?lay=show&ac
                www1.mod.go.th/opsd/wpcweb/.../km1.../know%20wpc21.doc