วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

                             การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
        การวิเคราะห์หลักสูตร  เป็นการพิจารณารายละเอียดของจุดมุ่งหมายและเนื้อหา เราจะต้องศึกษาหลักสูตรแกนกลางว่าในหลักสูตรต้องการอะไร จุดมุ่งหมายคืออะไรแล้วเอามาปรับใช้ในการเขียนแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสาระการเรียน เนื้อหา และกับตัวผู้เรียน
         การวิเคราะห์ผู้เรียน  เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน จะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไป และลักษณะเฉพาะของผู้เรียนเพราะผู้เรียนนั้นแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะต่างกันออกไปว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนแค่ไหน
          การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย   มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายการจัดกิจกรรมต่างๆที่เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนจะต้องสอดคล้องกับตัวผู้เรียน ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย ช่วงชั้น เน้นผู้เรียน เกิดประโยชน์ที่สุดสำหรับตัวผู้เรียน กิจกรรมต้องช่วยต่อยอด ให้เกิดการเรียนรู้ การคิดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้
           การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ของเด็กให้เกิดการคิด การวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์ของสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวผู้เรียน เพราะสื่อจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อีกทางหนึ่งซึ่งผู้เรียนก็จะเกิดการเรียนรู้ที่ไม่ใช่เฉพาะในหนังสือ สื่อจะทำให้เด็กมองโลกได้กว้างขึ้นแต่ก็ต้องอยู่ในขอบเขตที่จำกัดเช่นกัน
            การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียนในทุกด้าน
              การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ  เมื่อได้ผลการประเมินมาแล้วเราก็นำเอาผลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไขให้ สอดคล้องกับผู้เรียน
               การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตนจะจัดทำวิจัยหลังจากการที่ได้สังเกตหรือทดสอบ แล้วนำผลที่ได้ไปวิจัยดูว่าจะจัดทำ
นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เหมาะกับการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไปอย่างไร
                        การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(พร้อมยกตัวอย่างการออกแบบการจัดการเรียนรู้ )
                                   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนแบบบูรณาการ วิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เรื่อง สิ่งแวดล้อมที่รัก
                                   การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหากลุ่มสาระต่างๆที่เชื่อมโยงกันสัมพันธ์กันไปในเวลาเดียวกัน ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆตามกิจกรรมที่ผู้สอนจัดเตรียม ให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสาระกลุ่มต่างๆที่ได้เรียน ตลอดจนฝึกการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต
                                   ตัวอย่างแผนการสอนแบบบูรณา  เรื่อง สิ่งแวดล้อมที่รัก
สาระสำคัญ
                               สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ สิ่งที่มีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตมีทั้งให้ความสวยงามและให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ต้องช่วยกันดูแลรักษาไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
จุดประสงค์การเรียนรู้
                    1.เกิดความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
                    2.สามารถบอกประโยชน์ของสิ่งแวดล้อมได้
                    3.สามารถสรุปได้ว่าการกระทำของมนุษย์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอย่างไรและการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างไร
                    4.สร้างจิตสำนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดกับเด็ก
เนื้อหาการเรียนรู้
                            - สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และสิ่งที่ไม่มีชีวิต คือ ดิน น้ำ หิน ทราย อากาศ ดวงดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
                            -  ประโยชน์ของสิ่งแวดล้อม
                            - การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
                            -การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
                            - การกระทำของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ทิ้งขยะ ควันรถ ตัดไม้ทำลายป่า
                            -ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ เช่น น้ำท่วม น้ำเน่า อากาศเสีย
กิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เรื่องสิ่งแวดล้อมที่รัก
                        ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นที่ 1      แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นสองกลุ่ม สำรวจสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน นำเสนอผลงานเป็นตาราง อภิปรายลักษณะการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต นำน้ำจากแหล่งน้ำ สังเกตความแตกต่าง หาสาเหตุ ดูภาพแม่น้ำลำคลอง กองขยะ สรุปอภิปราย ผลกระทบ
ขั้นที่ 2      อภิปรายร่วมกันถึงประเด็น ถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ชีวิตมนุษย์จะเป็นอย่างไร ให้ดาที่ภาพต้นไม้ที่ถูกตัด ใช้คำถามถึงผลกระทบ สร้างจิตสำนัก โดยมอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มดูแลรับผิดชอบแปลงไม้ดอก ไม้ประดับ
 ขั้นสุดท้าย   ทบทวน ประโยชน์ และอันตรายจากดวงอาทิตย์ ร่วมกันสรุป ดูภาพการเกิดข้างขึ้นข้างแรม วาดภาพประกอบ สอนวิธีดูทิศ ใช้คำถามเพื่อเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เดิมเข้ากับเนื้อหาที่เรียนรู้ จากแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งแวดล้อมที่รัก มีการจัดกิจกรรมหลากหลาย เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นขั้นเป็นตอน เป็นการบูรณาการเนื้อหาที่ชัดเจนจากกลุ่มสาระต่างๆ
สื่อการเรียนการสอน
-          ตารางสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน
-          ภาพการเปลี่ยนแปลงของดิน หิน และทราย
-          ภาพควันพิษจากโรงงาน ถนนที่มีรถยนต์จอแจ และการเกิดพายุ
-          ตารางบันทึกการสังเกตน้ำแบบสำรวจ
-          ภาพต้นไม้ ลำธาร คนตัดไม้
-          ภาชนะใส่น้ำ เช่น แก้ว ถุงพลาสติก
-          แปลงไม้ประดับบริเวณโรงเรียน
-          บัวรดน้ำหรือภาชนะรดน้ำต้นไม้ ส้อมพรวนดิน ปุ๋ยคอก
-          ถังขยะ
-          แผนภูมิเพลงอย่าทิ้งขยะ และเพลงป่าสวย
-          กระดาษวาดภาพ  กระดาษขาว เทา สี และกรรไกร
การประเมินผล
     1. สังเกตความกระตือรือร้นในการทำงาน การให้ความร่วมมือทำงานกลุ่มแสดงความคิดเห็น นำเสนอผลงาน และทำงานเสร็จทันเวลา
     2. สังเกตการณ์เล่าเรื่อง ร้องเพลง การออกเสียงภาษาอังกฤษ
     3. วัดผลการปฏิบัติงาน ได้แก่ การเขียนเรื่อง วาดภาพ การรับผิดชอบดูแลรักษาแปลงดอกไม้และการรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน
     4. ตรวจผลงานการทำแบบทดสอบ เรื่อง สิ่งแวดล้อมที่รัก


อ้างอิง จากเอกสารการจัดการเรียนรู้ ภาคเรียนที่2  ปีการศึกษา 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น