วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่12

        อาทิตย์ นี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะว่านักศึกษาบางส่วนได้ไปทัศนะศึกษานอกสถานที่และ นักศึกษาที่ไม่ได้ไปทัศนะศึกษาก็ได้ไปช่วยเหลืองานอาจารย์ที่ห้องหลักสูตร ช่วยอาจารย์จัดน้องที่เข้ามาสอบสัมภาษณ์ ช่วยเสิร์ฟน้ำ พิมพ์เอกสารและกวาดขยะ ต่อจากนั้นก็กลับบ้านไปหาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อเก็บข้อมูลมาทำเป็นรายงานส่งอาจารย์

ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ในตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา
ประวัติความเป็นมา
          ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ในพื้นที่เป็นเมืองประวัติศาสตร์ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของกิ่งอำเภอกลายมาก่อน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครอง ทรงกระจายอำนาจไปสู่หัวเมือง แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล กลาย(ท่าศาลา) ตั้งที่วัดเตาหม้อ (วัดชลธาราในปัจจุบัน) และครั้งสุดท้ายย้ายไปตั้งในตลาดท่าศาลามาจนปัจจุบันนี้
       ตำบลกลายในอดีตเป็นตำบลที่กว้าง มีพื้นที่ติดชายทะเล ที่ราบลุ่มที่ราบเชิงเขาและภูเขาแต่ปัจจุบันได้แยกส่วนที่เป็นภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบบางส่วนออกไปตั้งเป็นตำบลตลิ่งชันเสียส่วนหนึ่ง
       ส่วนที่มาของชื่อตำบลกลาย กลายเป็นชื่อของการเปลี่ยนแปลง คือ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากปากน้ำกลายมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอยู่เสมอตามความรุนแรงของกระแสน้ำที่กัดเซาะตลิ่ง ทำให้ปากน้ำต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จึงให้ชื่อว่า กลาย
สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ 41,336 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 38,423 ไร่ ประกอบไปด้วยหมู่บ้านจำนวน 12 หมู่บ้าน จำแนกได้เป็น
                หมู่ที่ 1 บ้านพังปริง        จำนวนเนื้อที่ 3,497 ไร่
                หมู่ที่ 2 บ้านสวนพริก      จำนวนเนื้อที่ 3,302 ไร่
                หมู่ที่ 3 บ้านบางสาร       จำนวนเนื้อที่ 3,632 ไร่
                หมู่ที่ 4 บ้านตลาดอาทิตย์ จำนวนเนื้อที่ 2,949 ไร่
                หมู่ที่ 5 บ้านทอนตะเกียง จำนวนเนื้อที่ 3,132 ไร่
                หมู่ที่ 6 บ้านบ่อกรูด         จำนวนเนื้อที่ 3,248 ไร่
                หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งพันธ์        จำนวนเนื้อที่ 3,615 ไร่
                หมู่ที่ 8 บ้านนาเพรง        จำนวนเนื้อที่ 2,955 ไร่
                หมู่ที่ 9 บ้านดอนใคร       จำนวนเนื้อที่ 2,922 ไร่
                หมู่ที่ 10 บ้านหินออก       จำนวนเนื้อที่ 2,631 ไร่
                หมู่ที่ 11 บ้านในไร่          จำนวนเนื้อที่ 2,134 ไร่
                หมู่ที่ 12 บ้านทางสาย      จำนวนเนื้อที่ 2,722 ไร่

       อาณาเขตติดต่อ                   ทิศเหนือ จด ตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล
                  
ทิศใต้ จด ตำบลสระแก้ว
                  
ทิศตะวันออก จด อ่าวไทย
                   ทิศตะวันตก จด ตำบลตลิ่งชัน
       ภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบ มีลำน้ำกลายไหลผ่านลงสู่อ่าวไทยทางด้านทิศตะวันออก มีหาดทรายยาวติดต่อกันประมาณ 9 กิโลเมตร ในพื้นที่หมู่ 1, 11 และหมู่ที่ 3 เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ            
       ประชากร ตำบลกลาย มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 8,783 คน แยกเป็นชาย 4,433 คน หญิง 4,350 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 0.212 คน/ตารางกิโลเมตร
                หมู่ที่ 1 บ้านพังปริง        จำนวนประชากร 1,450 คน
                หมู่ที่ 2 บ้านสวนพริก      จำนวนประชากร    692 คน
                หมู่ที่ 3 บ้านบางสาร       จำนวนประชากร    767 คน
                หมู่ที่ 4 บ้านตลาดอาทิตย์  จำนวนประชากร   744 คน
                หมู่ที่ 5 บ้านทอนตะเกียง  จำนวนประชากร    585 คน
                หมู่ที่ 6 บ้านบ่อกรูด         จำนวนประชากร    725 คน
                หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งพันธ์        จำนวนประชากร    660 คน
                หมู่ที่ 8 บ้านนาเพรง        จำนวนประชากร    461 คน
                หมู่ที่ 9 บ้านดอนใคร       จำนวนประชากร    650 คน
                หมู่ที่ 10 บ้านหินออก       จำนวนประชากร    693 คน
                หมู่ที่ 11 บ้านในไร่          จำนวนประชากร    779 คน
                หมู่ที่ 12 บ้านทางสาย      จำนวนประชากร    577 คน
       อาชีพ                - การเกษตรกรรม พื้นที่เกษตรกรรมทั้งสิ้น 35,289 ไร่ ราษฎรประมาณ 70% ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม โดยเรียงลำดับดังนี้ การทำนา ทำสวนมะพร้าว ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ และปลูกพืชผัก ตามลำดับ แต่การทำนาเป็นการทำไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และทำรายได้ให้แก่ราษฎร คือ ทุเรียน มังคุด มะพร้าว มะนาว ฯลฯ
               -
การปศุสัตว์ ราษฎรส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมเกือบทุกครัวเรือน โดยเลี้ยงไว้สำหรับบริโภคและจำหน่าย เช่น โคพันธุ์พื้นเมือง สุกร ไก่พันธุ์เนื้อและพันธุ์พื้นเมือง
               -
การประมง ราษฎรที่อยู่ติดกับชายฝั่งจะทำการประกอบอาชีพการประมงและมีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำและปลาน้ำจืด ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับราษฎรเป็นอย่างดี
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
             - ปั๊มน้ำมัน 3แห่ง
             - โรงสีข้าว 7 แห่ง
  
การศึกษา
                      การศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย จำแนกได้ดังนี้
                      -  ระดับประถมศึกษา 5 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านพังปริง โรงเรียนบ้านปากดวด โรงเรียนวัดเขาพนมไตรรัตน์ โรงเรียนบ้านบ่อกรูด และโรงเรียนวัดดอนใคร
                      -  ระดับมัธยมศึกษา (ตอนต้น) 2 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านพังปริง และโรงเรียนวัดดอนใคร
                      -  ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 12 แห่ง
                      -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบล 1 แห่ง
   สถาบันและองค์กรทางศาสนา                      วัด/สำนักสงฆ์ 4 แห่ง
                      -  วัดบางสาร (ตั้งอยู่หมู่ที่ 3)
                      -  วัดเขาพนมไตรรัตน์ (ตั้งอยู่หมู่ที่ 4)
                      -  วัดบ่อกรูด (ตั้งอยู่หมู่ที่ 6)
                      -  วัดดอนใคร (ตั้งอยู่หมู่ที่ 9)
                      มัสยิด 5 แห่ง
                      -  มัสยิดบัยริยะห์ (ตั้งอยู่หมู่ที่ 1)
                     - มัสยิดบ้านปากดวด (ตั้งอยู่หมู่ที่ 1)
                     - มัสยิดตอรีกอตุลยัญนะฮ์ (ตั้งอยู่หมู่ที่ 11)
                     - มัสยิดซูรูกุลฮูดา (ตั้งอยู่หมู่ที่ 11)
                     - มัสยิดดารุลนาอีม (ตั้งอยู่หมู่ที่ 11)
การสาธารณสุข
                      -  สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 2 แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 4, 9)
                      - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน/สมุนไพร 2 แห่ง
                      - สถานพยาบาลเอกชน 1แห่ง
                      -  อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ 100%
 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                      - ป้อมตำรวจ (สายตรวจประจำตำบล) 1 แห่ง
การคมนาคม
             มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 (ถนนเอเชีย) ตัดผ่าน
             - ถนนราดยาง 6 สาย
             - ถนนคอนกรีต 27 สาย
             - ถนนดิน/ลูกรัง/หินคลุก/หินผุ(แร่โดโลไมล์) 41 สาย
การโทรคมนาคม
             เขตองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย มีโทรศัพท์สาธารณะจำนวน 13 ตู้
การไฟฟ้า             มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน (12 หมู่บ้าน ) ราษฎรมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนจำนวน 8,783 คน
   แหล่งน้ำธรรมชาติ              ลำน้ำ/ลำห้วย 12 สาย
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
             - ฝาย 12 แห่ง
             - บ่อน้ำตื้น มีเกือบทุกครัวเรือน
             - บ่อโยก 12 แห่ง
             - ประปาหมู่บ้าน 6 แห่ง
    การบริการและการท่องเที่ยว
             - หาดทราย 3 แห่ง (หาดปากดวด,หาดชมเล,หาดปากน้ำกลาย)


ต้นเตยทะเล

คลื่นซัดตอนเย็นๆๆ

สวนมะพร้าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น