วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13

คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
        
      1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
             ไม่เหมาะสม  เช่น พฤติกรรมการบริโภคเพราะการบริโภคของมนุษย์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตเนื่องจากในอดีตเป็นการบริโภคอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อความอยู่รอดหรือประทังชีวิตไปเป็นการบริโภคแบบตามความชอบของตัวเองตามกำลังทรัพย์หรือฐานะเพราะมีอาหารให้เลือกมากขึ้น ส่วนทางด้านสุขภาพ ก็มีความไม่เหมาะสมบ้าง เช่น  อาหาร  , หลีกเลี่ยงการออกแรง  ,  ขาดการออกกำลังกายความเครียด  ,การควบคุมอารมณ์ , สิ่งแวดล้อมในการทำงาน , สิ่งแวดล้อมที่บ้านและ
การพักผ่อน
 2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม)    มีน้อยมากเพราะผู้คนในสมัยนี้ให้เวลากับงานเป็นส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพน้อยมาก
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) มีน้อยค่ะ เพราะว่าเด็กไทยควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้แต่เราก็ควรบอกเขาว่าเขาควรพยายามปรับอารมณ์ไปในทางที่ดีรู้จักการยอมรับกับในสิ่งที่เกิดขึ้น
การพัฒนาบุคลิกภาพ เช่น
1.มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ดี
2. มีความสามารถในการทำงานที่อำนวยประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมได้
3. มีความรัก และความผูกพันต่อผู้อื่น
4. มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาทางการแสดงออกของตนต่อผู้อื่นได้ดีขึ้น

4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง (มีชื่อเสียง) ไม่เพราะในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงส่วนมากเด็กจะเยอะการดูแลเด็กให้ทั่วถึงมีน้อยมาก
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)    ทำความรู้จักกับนักเรียนเรื่อยๆจนรู้จักนักเรียนหมดทุกคน
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2. การคัดกรองนักเรียน
3. การส่งเสริมนักเรียน
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
5. การส่งต่อ

 6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต (สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
       เด็กจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพตั้งแต่แรกเกิด การที่เด็กจะสามารถพัฒนาเด็กตามศักยภาพได้นั้น  เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม หมายความว่า เด็กจะต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ กาย ใจ จิต อารมณ์ สังคม สติปัญญาและจริยธรรมและเด็กยังมีสิทธิในการที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการถูกทำร้าย ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา (วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่ (หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”) มี เช่นการ
๑. การควบคุมตนเอง
๒. ความเห็นใจผู้อื่น
๓. ความรับผิดชอบ
๔. การมีแรงจูงใจ
๕. การตัดสินใจแก้ปัญหา
๖. สัมพันธภาพกับผู้อื่น
๗. ความภูมิใจในตนเอง
๘. ความพอใจในชีวิต
๙. ความสุขสงบทางใจ
 8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
มีมาก
  9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ            มีแบบประเมินเพื่อสำรวจพฤติกรรมของนักเรียนโดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบและส่งต่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน เพื่อครูจะได้สรุปนำสิ่งที่ผิดพลาดมาแก้ไขปรับปรุงอีกทีหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น